HRD ต้องมี Design ตอนที่ 1 : แก่นแท้ของการออกแบบหลักสูตรฝึกอบรม

15288 จำนวนผู้เข้าชม  | 

HRD ต้องมี Design  ตอนที่ 1 :  แก่นแท้ของการออกแบบหลักสูตรฝึกอบรม

สำหรับคนหนึ่งคนที่เดินทางบนเส้นทางหลักเพียงสายเดียวมาตลอดระยะเวลา 20 ปีนั้น สิ่งที่สวยงามก็คือ การที่ได้มีโอกาสของการสัมผัส พบเห็น พูดคุย และเจอประสบการณ์ตรงกับตนเอง (ทั้งที่ถูก และผิด) มาหลายครั้ง หลายหน

 

จากนักเรียน ปวช. – ปวส. (ช่างยนต์) สู่ บัณฑิต ครูช่าง (ครุศาสตร์อุตสาหกรรม : วิศวกรรมเครื่องกล) เป็นพื้นฐานที่ยอดเยี่ยม สำหรับการเดินย่างเก้าวเข้าสู่วิชาชีพ “นักฝึกอบรม” ได้อย่างพอเหมาะพอสม

 

หากแต่บนทางเดินสายนี้กลับเป็นเส้นทางเดินทางที่ท้าทายมาก และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ เป็นการเรียนรู้ที่มีวันจบ ทั้งๆ ที่ช่วงแรกๆ ของการเริ่มงานในวิชาชีพนี้ ตนเองก็คิดว่าเราน่าจะเดินทางบทเส้นทางสายนี้ได้โดยไม่ยากลำบากมานัก เพราะมีทักษะการสอนจากวิชาครูมาดีพอสมควร ซึ่งการันตีได้ด้วยเกรด A ทั้งหมดของวิชาครูจากบางมด

 

และทักษะการสอนที่ตนเองมีนั้น ก็เป็นตัวช่วยที่สำคัญจริงๆ ในการเดินทางบทวิชาชีพนี้ หากมันเป็น “ตัวช่วย” เพียงแค่ไม่เกิน 10 % สำหรับที่วิชาชีพนี้ต้องทำ เอาล่ะสิ ... เรากำลังจะเจอกับ “โลกใบใหญ่ ... ใบใหม่” แล้วสิ

 

ปกติเวลาเราเรียนเป็น “ครูช่าง” เราก็จะสอนหนังสือตามโครงสร้างหลักสูตรงานช่างต่างๆ ที่มีผู้กำหนดมาให้เราอย่างเป็นมาตรฐาน  สิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมาก คือ การทำแผนการสอน เพื่อให้นักเรียนช่างสามารถเรียนรู้อย่างเข้าใจ และฝึกปฏิบัติได้อย่างจริงจัง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพต่อไป ดังนั้น Key Critical Success ของการเป็นครูช่าง ก็คือ การทำแผนการสอนที่ดี สามารถถ่ายทอดความรู้และทักษะให้นักเรียนได้จริง

 

เมื่อได้โอกาสมาเป็น “พนักงานฝึกอบรม” ก็กินหมูล่ะสิ  เจ้านายบอกว่าให้ปฐมนิเทศพนักงานใหม่, สอนหลักสูตร 5 ส. . สอนข้อกำหนด ISO ฯลฯ  การสอนและการถ่ายทอดความรู้เป็นชิลล์สำหรับตนเองอยู่ ... No Problem ไม่มีปัญหา  ตลอดระยะเวลา 1 – 2 ปีของการใช้วิชาชีพ “นักฝึกอบรม” ของผม ก็เริ่มต้นได้อย่างสวยงาม

 

หากแต่ ... เมื่อมาอยู่มาวันหนึ่ง เจ้านายเดินมาบอกว่า ...

 

"นายจะต้องออกแบบหลักสูตรด้วยนะ"  

 

พระเจ้าช่วย กล้วยทอด อะไร คือ การออกแบบหลักสูตร  ที่ผ่านมาในชีวิตเป็นนักเรียนครูช่าง ... เป็นครูฝึกสอน จนจบได้ปริญญาบัตรมาเนี่ย ไม่เห็นมีใครเคยพูดถึงได้ยินคำนี้ “ออกแบบหลักสูตร” ให้เราได้ยินเลย หรือหากว่าจะเคยได้ยิน ... มันก็เป็นเสียงดังแต่เพียงแผ่วเบามากๆ

 

แล้วเราจะต้องทำการออกแบบหลักสูตรให้กับบริษัท ... จะทำอย่างไรดี ... เริ่มต้นอย่างไร ... ปรึกษาและถามใครได้  เพราะเจ้านายก็เป็น HR ที่เป็นคนเก่งมาก สำหรับงาน HRM แต่งาน HRD ท่านออกตัวเลยว่าไม่ถนัด  แต่แปลกเนอะ ... สั่งงานให้เราออกแบบหลักสูตรใหม่ได้

 

ดังนั้น เจ้านายที่รักยิ่งของผม ... ก็เลยตัดสินใจส่งเราไปเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร “นักฝึกอบรมมืออาชีพ” ซึ่งสมัยนั้นเป็นหลักสูตรที่เรียนต่อเนื่องกัน 3 วัน  โดยเริ่มตั้งแต่

·        บทบาทหน้าของพนักงานฝึกอบรม

·        ขั้นตอนและวิธีการในการประสานงานจัดหลักสูตรฝึกอบรม

·        การจัดเตรียมความพร้อมของการจัดหลักสูตร เช่น การจัดห้อง, การจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวก ฯลฯ

·        การออกแบบและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม

·        การติดตามและประเมินผลการฝึกอบรม

·        และอื่นๆ อีกมากมาย (ซึ่งจำไม่ได้แล้ว)

 

ซึ่งในหลักสูตรนี้แหละ ที่ทำให้ผมได้รู้จักกับคำ 3 คำที่อยู่กับผมเองมาตลอดชีวิตการทำงาน ( 20 ปี) คือ

·        KUSA / KUSAB

·        วัตถุประสงค์การฝึกอบรม (Objective)

·        การติดตามและประเมินผล (Follow Up & Evaluation)

 

สำหรับผมแล้วคำ 3 คำนี้ไม่ได้เป็นคำใหม่ ไม่ได้เป็นคำที่ไม่เคยได้ยินแต่อย่างใด เพราะการเรียนวิชาครู  ผมเองก็คุ้นชินกับคำ 3 คำนี้มาโดยตลอด  หากแต่ส่วนใหญ่นั้น การเรียนการสอนในวิชาชีพครู มุ่งเน้นผลลัพธ์ไปที่ “ความรู้” เป็นหลัก (เมื่อ 20 ปีผ่านมานะครับ) จะให้ความสนในเกี่ยวกับ “ทักษะ” บ้างก็ไม่มากนัก โชคดีที่ผมเรียนมาทางสายช่าง ดังนั้น ผมจึงเข้าใจวิธีการวัดผลเกี่ยวกับทักษะอยู่มากพอสมควร

แต่มื่อเราจะต้องนำคำ 3 คำนี้มาทำการออกแบบหลักสูตรให้กับบริษัทจริงๆ โดยเป็นการออกแบบหลักสูตรที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อนเนี่ยล่ะสิ  มันช่างเป็นความท้าทายมากๆ ในชีวิตของผม

 

สำหรับหลักสูตรที่ผมได้รับมอบหมายให้ออกแบบ คือ หลักสูตร การพัฒนาระดับฝีมือช่างพิมพ์  ซึ่งเป็นอะไรที่ผมไม่เคยรู้จัก ไม่มีประสบการณ์ร่วมมาก่อน ดังนั้น มันคือความท้าทายที่สุดยอดมากๆ ของผม  สำหรับรายละเอียดว่าผมออกแบบและพัฒนาหลักสูตรนี้ขึ้นมาอย่างไร และได้ผลลัพธ์เป็นอย่างไรนั้น  ผมคงจะได้มีโอกาสแบ่งปันกับทุกๆ ท่านในโอกาสต่อๆ ไป

 

แม้จะเดินทางมายาวนานพอสมควร เก็บเกี่ยวประสบการณ์ และพบเจอผู้คนต่างๆ มากมาย  แต่ผมเองก็ยังเรียนรู้ และค้นคว้า เสาะ แสวงหาความรู้ ความเข้าใจ และวิธีการต่างๆ ที่แตกต่างและหลากหลาย เพื่อการเข้าถึงคำ 3 นี้มาโดยตลอด  เพื่อจะได้สามารถส่งมอบผลลัพธ์ของการฝึกอบรมให้ผู้เรียน และองค์กรได้อย่างแท้จริง

 

และหากผมจะได้รับโอกาสจากทุกๆ ท่าน  ... ผมจะขอแบ่งปันมุมมองและประสบการณ์ (ร่วม) ของผมกับคำ 3 คำนี้ในบทความ HRD ต้องมี Design ในตอนต่อๆ ไป ครับผม

 

Providing value to your people

www.peoplevalue.co.th

 

อ่านต่อ

HRD ต้องมี Design ตอนที่ 2 : ออกแบบหลักสูตรให้ส่งมอบผลลัพธ์ได้จริง

HRD ต้องมี Design ตอนที่ 3 : ว่าด้วยเรื่องของ Training Needs ตอนที่ 1

ทำความรู้จัก Learning : บริการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ วัดผล ติดตาม และประเมินผล ของ People Value

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้