10068 จำนวนผู้เข้าชม |
เคยสงสัยไหมคะ ว่าทำไมบางคนเป็นหัวหน้าที่ใคร ๆ ก็รัก เคารพ นับถือ
บางคน เป็นหัวหน้าที่ไม่มีใครอยากจะเข้าใกล้เลยจริง ๆ
แต่นั่นไม่ใช่ว่า เขาเป็นหัวหน้าที่ดีไม่ได้
บางคนเป็นหัวหน้าที่พูดจาดี ประนีประนอมกับลูกน้อง
แต่ลูกน้องไม่สามารถทำงานให้สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ได้
หัวหน้าที่ดี ไม่จำเป็นต้องใจดี หรือ ทำให้ลูกน้องรักเสมอไป
แล้วแต่ค่ะ ว่าองค์กรของคุณมีทิศทางว่าเป็นองค์กรแบบไหน
เห็นประเทศจีนไหมคะ ถ้ายุคหนึ่งที่บริหารปกครองแผ่นดินใหญ่ด้วยคนที่ชื่อว่า
เหมาเจอตง หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า "ท่านประธาน"
แล้วท่านประธานผู้นี้ ให้การปกครองระบอบประชาธิปไตย
จีนคงไม่เป็นจีนอย่างทุกวันนี้ (โดยที่เราไม่รู้เลยว่า จะดีกว่าหรือแย่ลงกว่าปัจจุบัน)
หากในยุคของ เติ้งเสี่ยวผิง ไม่ได้เปิดประเทศ
ทุกวันนี้ จีนอาจคล้ายกับเกาหลีเหนือ หรือประเทศอาจแตกสลายเหมือนรัสเซียได้เหมือนกัน
มาพูดถึงเรื่องใกล้ตัว ครั้งหนึ่ง ได้ให้คำปรึกษาองค์กรเล็กๆ ระดับครัวเรือน
หัวหน้า คือ พ่อนั่นแหละค่ะ เป็นหัวหน้าครอบครัว
และมีลูกชายช่วยบริหาร และมีลูกน้องอีก ไม่เกิน 10 คน
พ่อ หรือ เถ้าแก่คนนี้ เป็นคนที่ค่อนข้างเข้มงวด
พูดจาไม่ไพเราะ พูดมึงกูกับลูกน้องผิดเป็นผิด ด่าเป็นด่า
มาสืบค้น เบื้องหลัง เขาทำธุรกิจครอบครัวสืบทอดกิจการมายาวนาน
ทั้งหมด ทำงานกับผู้ชาย ดูแลปกครองกันระบบครอบครัวจีน
ผลประกอบการในองค์กรเล็กๆ ปีหนึ่งหลายสิบล้าน ไม่ธรรมดาเลยค่ะ
และที่สำคัญ คนงานผู้ชายเหล่านี้
คนที่มีอายุงานน้อยที่สุด คือ 5 ปี นอกนั้น 10 ปีขึ้นไปแทบทุกคน
นี่ไม่ใช่เรื่องปกติธรรมดานะคะ
ไปสืบดูฐานเงินเดือน ไม่มีการกำหนดเงินเดือนที่แน่นอน
ระบบโบนัสการประเมินผลอะไรไม่ชัดเจนสักอย่างเดียว
ว่าง่าย ๆ ระบบบ้าน ๆ แบบลูกทุ่งเลย
แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นในวันนี้ ประเด็นคือ เถ้าแก่รายนี้
เป็นผู้นำที่ดี รักษาคนของเขาและพากันเติบโตเรื่อยมา
เขากล่าวกันว่า การรักษาคนไว้ในองค์กร คือสิ่งที่ยากยิ่ง
เขาไม่ลังเลที่จะเปิดเผยว่า จงเป็นคนซื่อสัตย์เชื่อถือได้
แม้ลูกน้องเกลียดบ้างก็ตาม นำมาขยายความแบบนี้ค่ะ
ต่อให้เป็นคนที่พูดกับเราแล้ว โอเค เข้าท่า ถูกอกถูกใจ
แต่หากขาดความน่าเชื่อถือ ก็ไม่ควรเข้าใกล้
ความน่าเชื่อถือ เป็นปัจจัยสำคัญกว่า การสร้างความนิยมชมชอบ
การพูดหวานหูต่อลูกน้อง หรือชมบ่อย ๆ แทบจะไม่มีประโยชน์เลย
ถ้างานไม่ได้ผลและไม่เกิดความร่วมมือใดๆ
แต่หากเป็นผู้นำที่ให้ความสำคัญกับความน่าเชื่อถือเป็นหลัก
พูดอีกแง่คือ มุ่งงานมากกว่าคน ก็ต้องพร้อมที่จะมีคนในทีมเกลียด
เวลาจูงใจคน จะทำให้ “คนชื่นชอบ” เป็นสิ่งสำคัญ แต่ “ความน่าเชื่อถือส่วนบุคคล” เป็นสิ่งสำคัญกว่า
แต่คงจะดีที่สุด ถ้าเป็นหัวหน้าที่ได้รับความชื่นชอบและมีความน่าเชื่อถือรวมในคนคนเดียวกัน
นี่เป็นคุณสมบัติผู้นำที่พูดง่าย แต่ไม่อาจหาได้ตามท้องตลาด
ฉะนั้น ผู้นำที่เพอร์เฟ็ค เพื่อนร่วมงานรวมทั้งลูกน้องจะเกลียดและให้ความร่วมมือ จึงมีค่อนข้างน้อย
ฉะนั้น เมื่อย้อนกลับตอนต้นของเนื้อหาข้างบน
จะพบว่า ทั้งท่านประธานเหมา เติ้งเสี่ยวผิง ผู้นำที่ยิ่งใหญ่
ไม่ว่าจะใช้วิธีการนำทีมแบบใดก็ตาม
เขาเหล่านี้ ยิ่งใหญ่ได้เพราะความน่าเชื่อถือ (เครดิต) ส่วนบุคคล นั่นเอง คือ พูดจริง-ทำจริง
พยากรณ์คาดการณ์ตามข้อมูล-ถูกเสียส่วนใหญ่
บอกถึงสถานการณ์เลวร้ายที่ต้องรับมือ-ลูกน้องปรับตัวได้ทัน
แม้ว่าต้องเกลียดที่จะฟัง หรือนึกขัดแย้งต่อการเปลี่ยนแปลงก็ตาม
นี่คือความสำคัญตอนหนึ่งของการนำทีม
ผู้นำควรมีคุณสมบัติประการนี้ค่ะ