12958 จำนวนผู้เข้าชม |
เพราะภารกิจหลักสำหรับนัก HRD มืออาชีพ คือ การพัฒนาบุคลากร เพื่อให้สามารถส่งมอบผลการปฏิบัติงานและส่งเสริมการพัฒนาองค์กรให้ไปสู่เป้าหมายที่คาดหวังได้ หนึ่งในงานหลักที่สำคัญที่สุดที่เราทุก ๆ คน ต้องทำจึงเป็น การจัดหลักสูตรฝึกอบรมและพัฒนาให้กับบุคลากรภายในองค์กรของเรา เพื่อการสร้างและพัฒนากรอบความสามารถในการปฏิบัติงาน (Competency) และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจ (Business Competitive Advantage) ให้องค์กรสามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันทางธุรกิจได้ตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ที่กำหนด
ซึ่งกิจกรรม หรือภาระอันหนักอึ้งประการหนึ่งที่ นัก HRD ทุกๆ คนจะต้องประสบและพบเจอเหมือนกันก็คือ “การคัดเลือก และสรรหาหลักสูตรฝึกอบรม และวิทยากรภายนอกอย่างไร” ให้ “โดนใจ” “ผู้บริหาร และผู้เข้ารับการฝึกอบรมและพัฒนา”
เรามี “5 เคล็ดลับ เพื่อการคัดเลือกวิทยากรภายนอก” เพื่อทำให้หลักสูตรฝึกอบรมภายในองค์กร “ปัง และโดนใจ” ซึ่งประกอบไปด้วย สิ่งที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้
01 Content : ย่อยเรื่องที่ยากให้เป็นเรื่องง่าย
วิทยากรภายนอกที่ดี จะต้องเป็นผู้มี “ประสบการณ์” และ “ความเจ๋ง” มากกว่า “วิทยากรภายในองค์กร” อย่าง “ชัดเจนและพิสูจน์ได้” เพราะนัก HRD ทุกๆ คน เรามักจะติดปากเรียก “เขา” เหล่านั้นว่า “อาจารย์” หรือ “มืออาชีพ (Professional) ”
แล้วสิ่งใดเล่า คือ เครื่องพิสูจน์สมมุติฐานนี้
คำตอบก็คือ การที่ “อาจารย์” หรือ “มืออาชีพ” เหล่านั้นจะต้องสามารถช่วยทำให้ “คนภายในองค์กรของเรา” สามารถเรียนรู้ เข้าใจเรื่องที่ “ยากๆ” จนเสมือนเป็นเรื่องที่ “แสนจะง่ายดาย” ได้ นั่นเอง
02 Class Dynamic : มีความหลากหลายของกิจกรรม-เกม
แค่ “ความรู้ และความเข้าใจ” คงยังไม่เพียงพอ สำหรับการใช้ “วิทยากรภายนอกที่ดี” สิ่งที่เราในฐานนัก HRD มืออาชีพต้องการมากกว่านั้น ก็คือ การที่คนของเราจะต้องได้มีโอกาส “ฝึกปฏิบัติ” หรือได้ “ทดลองทำกิจกรรม” เพื่อสร้างประสบการณ์ร่วมกับ “ความรู้ เนื้อหาต่างๆ” ที่เค้าได้เรียนรู้ผ่านไป
ด้วยเหตุผลที่ว่า “ประสบการณ์” มีความสำคัญกว่า “ความรู้” มากเป็นหลายร้อยหลายพันเท่า
03 Class Control : ดูแลผู้เข้าอบรมให้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้
เมื่อเรามีกิจกรรม เกมส์ที่ดีแล้วนั้น แต่หาก “อาจารย์” หรือ “มืออาชีพ” เหล่านั้นไม่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมให้ผู้รับการฝึกอบรมของเรา มีส่วนร่วมกับ กิจกรรมหรือเกมส์ในการเรียนรู้ เพื่อการสร้าง “ประสบการณ์ในการเรียนรู้” ได้อย่าง “ถึงกึ๋น”
นั่นก็จะเป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่สุดประการหนึ่งที่เรานัก HRD มืออาชีพจะต้องนำมาพิจารณาเป็นปัจจัยในการ “คัดเลือกและสรรหาวิทยากรภายนอก”
04 Case Study : ยกตัวอย่าง ประสบการณ์จริง มีเรื่องเล่าตรงประเด็น
ถ้าจะให้กระบวนการเรียนรู้ เพื่อการสร้าง “ความรู้ ความข้าใจ ประสบการณ์ร่วม และเกิดความรู้สึกร่วมแบบตราตรึงใจ จดจำได้ไม่รู้คลาย” เกิดขึ้นนั้น
เครื่องมือที่สำคัญที่สุดของ “วิทยากรมืออาชีพที่ดีทุกๆ ท่าน” จะต้องมีและส่งมอบให้กับผู้เข้ารับการอบรมของเรา ก็คือ “ประสบการณ์จริง และเรื่องเล่าที่ตรงประเด็น (Case Study / Story Telling)
เพราะ “ประสบการณ์จริง และเรื่องเล่าที่ตรงประเด็น (Case Study / Story Telling) จะสร้างการจดจำ และอาการ “IN” แบบไม่รู้คลายให้กับ “คนของเรา”
05 Communication : สื่อสารชัดเจน กระชับ ถามตอบได้ดี
วิทยากรภายนอกที่ดีหลายท่านสามารถตอบโจทย์ที่เราได้แลกเปลี่ยนกันมาได้หมดทุกเรื่องที่ผ่านมาทั้ง 4 ประการได้อย่างยอดเยี่ยมโดยไม่มีที่ติแม้แต่น้อย
หากแต่กลับมา “ตกม้าตาย” ตอนจบ คือ
ผู้เข้ารับการอบรมของรา ก็ไม่ธรรมดานะ เป็น “คนมีของกันหมด ทุกคน”
มีกรณีปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงๆ แล้วต้องการให้ “อาจารย์” หรือ “มืออาชีพ” ช่วยให้ “คำแนะนำ” หรือ “แนวทาง” สำหรับการแก้ไขปัญหา และ / หรือปรับปรุงและพัฒนางาน
แต่ “สิ่งที่ได้รับกลับ” ไม่ชัดเจน กระชับ และตรงประเด็น ก็จะเป็นปัจจัยสุดท้ายที่สำคัญ สำหรับการใช้เพื่อการสรรหาและคัดเลือกวิทยากรมืออาชีพจากภายนอก
ความลับ ... สุดท้าย ที่ถ้าหากไม่รักกันจริง จะไม่บอกนะเนี่ย ก็คือ
5 เคล็ดลับ เพื่อการคัดเลือกวิทยากรภายนอก เพื่อทำให้หลักสูตรฝึกอบรมภายในองค์กร “ปัง และโดนใจ” เวลานำไปใช้งานจริงควรจะสอดแทรกเคล็ดลับตั้งแต่ 01 ถึง 05 ไปเรื่อย ๆ ในแต่ละช่วงนะ ไม่ใช่แค่ขอให้มีแค่ครั้งเดียวแล้วจบ เพราะมันได้รับการพิสูจน์มาเป็นพันๆ ครั้งแล้วว่า “วิทยากรมืออาชีพ” ที่ท่านเลือกนั้นจะ “Work” อย่างแน่นอน
อะแฮ่มๆ แต่ถ้าอ่านจบแล้วยังไม่รู้จะหันไปหาวิทยากรท่านไหนดี แวะมาปรึกษากับเราได้ที่ 087-535-9393 ได้นะ People Value ยินดีบริการครับ