10375 จำนวนผู้เข้าชม |
ทุนทางปัญญา คือ
ผลของความคิด ในการใช้สิ่งที่มีอยู่ใกล้ๆ ตัวมาสร้างสรรค์ หรือ ใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด
ทุนทางปัญญา ประกอบด้วย ทุนทั้งหมด 3 ชนิดคือ
1. Human Capital ทุนมนุษย์
2. Social capital ทุนทางสังคม
3. Structural Capital ทุนทางโครงสร้าง
มารู้จักกันทีละตัวนะครับ เริ่มจาก
1. Human Capital (ทุนมนุษย์)
องค์กรประกอบด้วย คน จำนวนหนึ่ง
ทุนมนุษย์ คือ ทุนที่ใช้ปัญญาของมนุษย์แต่ละคนในองค์กรมาช่วยในการแก้ปัญหา หรือ พัฒนาองค์กรร่วมกัน
ทุนตัวนี้แตกต่างอย่างแรงกับทุนทางการจัดการที่ชื่อว่า Man (อย่างน้อยก็เขียนต่างกัน) นั่นคือ
Man กล่าวถึง คน ที่เป็นแรงงาน
เพราะเป็นทุนที่เกิดขึ้นจากช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม ในช่วงนั้น แรงงาน เปรียบได้กับ ทุนตัวอื่น เช่น เครื่องจักร, วัตถุดิบ
Human กล่าวถึง คน ที่เป็นมนุษย์
มีความคิด ความรู้ ความสามารถ จิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก ซึ่งทำให้ทุนมนุษย์เกิดพลังขึ้นได้มากมายมหาศาล มากกว่าเพียงแค่แรงงานเท่านั้น
Human Capital (ทุนมนุษย์) คือ สิ่งที่มีอยู่ในตัวคนทุกคนที่อยู่ในองค์กรอยู่แล้ว ทั้งที่เห็นได้ชัด หรือ ที่แฝงเร้นอยู่ภายในบางตำราก็เรียกรวมกันว่า Competency หรือ สมรรถนะ ประกอบขึ้นด้วย 4 ส่วน คือ
Knowledge ความรู้
Skill and Ability ทักษะ และ ความสามารถ
Experience ประสบการณ์
Creativity ความคิดสร้างสรรค์
หากร้อยเรียงทุนมนุษย์ทั้ง 4 ตัวนี้เข้าด้วยกัน จะได้ว่า
คน 1 คนเกิดมา ก็ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมาย เราเรียกสิ่งที่ได้เรียนรู้ว่า ความรู้
เรานำความรู้มาใช้ทำงาน นั่นคือเรามี ความสามารถ และก่อให้เกิด ทักษะ เพิ่มขึ้น
เราลงมือทำมากขึ้นเรื่อยๆ เราเก็บการเรียนรู้นั้นเป็น ประสบการณ์ เอาไว้ เพื่อวันใดวันหนึ่งต้องใช้สิ่งเหล่านั้น ก็สามารถเรียกประสบการณ์เหล่านี้ออกมาได้
และเมื่อทำงานใดงานหนึ่งจนคล่อง ก็สามารถสร้างสรรค์กระบวนการใหม่ๆ ที่ทำให้งานนั้นดีขึ้นดีขึ้นได้เอง
ยกตัวอย่างเช่น
หนุ่มน้อยคนหนึ่งเกิดมาในตระกูลปั้นหม้อ ในสมัยหิมพานต์ เขาเติบโตขึ้นมาได้เรียนรู้วิธีการปั้นหม้อที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ โดยพ่อของเขาเป็นคนสอนพี่ชาย และทั้งสองก็มาสอนเขาปั้นหม้อ เขาเรียนรู้ว่า หม้อที่ครอบครัวเป็นมีกี่แบบ กี่ลาย กี่ทรง กี่ราคา นี่คือ ความรู้
เขาเติบโตขึ้นมา ปั้นหม้อทุกวัน วันละหลายสิบใบ เกิดเป็นทักษะ/ความสามารถ จนเขาสามารถหลับตาปั้นหม้อได้ตามแบบไม่ผิดเพี้ยน นี่คือ ทักษะ และ ความสามารถ
เขาเติบใหญ่ขึ้น ได้ออกเดินทางไปตามที่ต่างๆ กับครอบครัว เพื่อค้นหารูปทรงของหม้อแบบใหม่ๆ เขาสามารถบอกได้เลยว่า หม้อรูปแบบนี้ ต้องใช้ดินอะไร ใช้เท่าไหร่ ปั้นแบบไหน อบแบบไหน นี่คือ การสั่งสมของ ประสบการณ์
ต่อมามีพระราชาแคว้นหนึ่งอยากได้ รูปปั้นเทพธิดา เขาก็ใช้ ความรู้ ทักษะ ความสามารถ ประสบการณ์ของเขา
สร้างสรรค์รูปปั้นที่เขาเองก็ไม่เคยสร้างมันมาก่อน นี่เรียกว่า ความคิดสร้างสรรค์
อ.นิพัฒน์ ชัยวรมุขกุล (อ. ALMON) ที่ปรึกษาด้านการวางระบบพัฒนากลยุทธ์องค์กร